การจัดการประชุมองค์กรวิชาชีพภายในประเทศ
Domestic Conventions

ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งสถานที่จัดประชุมและงานแสดงสินค้าที่มีมาตรฐานสากล สามารถรองรับการจัด งานได้หลากหลายรูปแบบ โรงแรมมีคุณภาพ มีบริการที่ดีในราคาคุ้มค่า มีบุคลากรที่เป็นมืออาชีพที่สามารถ รองรับความต้องการได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามมากมาย ซึ่งถ้าเราทุกคนร่วมกันจัดงาน ประชุมเชิงวิชาชีพ เท่ากับเป็นการช่วยชาติให้เงินทองหมุนเวียนสร้างรายได้ให้กับสังคมและชุมชนทั่วประเทศ
หลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการภายในประเทศ
(Domestic Conventions)
1. ระยะเวลาการให้การสนับสนุน
นับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2569
2. วัตถุประสงค์
  • 2.1 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการจัดงานประชุมวิชาการภายในประเทศ
  • 2.2 เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และยกระดับการจัดการประชุมวิชาการในประเทศอย่างเป็นระบบ กระจายไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ
  • 2.3 เพื่อใช้กลไกการประชุมวิชาการ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจหมุนเวียนจากกิจกรรมไมซ์ สร้างรายได้ กระจายประโยชน์สู่ชุมชน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
  • 2.4 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทย
3. คุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุน
  • 3.1 หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน เป็นต้นและให้รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ หรือกฎหมายอันมีลักษณะพิเศษรับรองความเป็นนิติบุคคลของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ
  • 3.2 สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันการอาชีวศึกษา เป็นต้น
  • 3.3 หน่วยงานของเอกชนที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น และให้รวมถึงหน่วยงานของเอกชนที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ หรือกฎหมายอันมีลักษณะพิเศษรับรองความเป็นนิติบุคคลของหน่วยงานของหรือเอกชนนั้น ๆ
หมายเหตุ: สสปน. ขอสงวนสิทธิ์จำกัดเฉพาะการสนับสนุนที่ใม่ใช่งบประมาณ (In-kind Support)  สำหรับงานที่จัดโดยหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 3.1
4. หลักเกณฑ์การพิจารณาให้การสนับสนุน
  • 4.1 เกณฑ์ทั่วไป
    • 4.1.1 ต้องจัดการประชุมวิชาการอย่างน้อย 1 วัน
    • 4.1.2 ต้องจัดการประชุมโดยนำแนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับการจัดงานอย่างยั่งยืน (ดังเอกสารแนบท้าย) อย่างน้อย 3 ข้อ ใน 25 ข้อ
    • 4.1.3 ต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ไม่รวมวิทยากร ไม่ต่ำกว่า 100 คน หากมีผู้เข้าร่วมงานชาวต่างชาติ ต้องมีจำนวนไม่เกิน 49 คน
  • 4.2 ประเภทงาน
    • 4.2.1 งานประชุมในสาขาวิชาการที่จัดขึ้นภายในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการเผยแพร่และยกระดับองค์ความรู้ หรือตรงตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย (MICE Foresight Industry) ได้แก่ Food Security, Creative Soft Power, Health-Tech Innovation, Urban QOL and Mobility, Advance Manufacturing และ Decarbonization of Energy หรือนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย
    • 4.2.2 งานประชุมที่มีเป้าหมายในการเติบโตและยกระดับ มีแผนพัฒนาขยายเครือข่ายในระดับจังหวัด หรือระดับภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมการหมุนเวียนการจัดงานในพื้นที่ต่างๆ
  • 4.3 การสนับสนุน
    • 4.3.1 การสนับสนุนที่เป็นงบประมาณสนับสนุนจะพิจารณาจากจำนวนผู้เข้าร่วมงานประชุม
      • 4.3.1.1 ผู้เข้าร่วมประชุม 100-300 คน ให้การสนับสนุน 50,000 บาท
      • 4.3.1.2 ผู้เข้าร่วมประชุม 301 คนขึ้นไป ให้การสนับสนุน 100,000 บาท
    • 4.3.2 การสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่องานประชุมที่ยกระดับและสร้างเครือข่ายในอนาคต
      กรณีที่ผู้จัดงาน มีการขยายเครือข่ายการจัดงานข้ามจังหวัด หรือข้ามภูมิภาค จะได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม 30,000 บาท/ งาน
  • 4.4 การสนับสนุนที่มิใช่งบประมาณสนับสนุน (Non – Financial Support) ประกอบด้วย
    • 4.4.1 การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic Impact & Social Impact)
    • 4.4.2 การให้บริการต้อนรับกลุ่ม VIP จากต่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ (MICE Lane Service) จำนวนไม่เกิน 15 คน โดยผู้ขอรับสนับสนุนต้องดำเนินการแจ้งเรื่องมายัง  สสปน. ทราบอย่างน้อย 15 วันทำการ ก่อนวันใช้บริการ
    • 4.4.3 การประชาสัมพันธ์งานผ่านช่องทางของ สสปน. อาทิ ปฏิทินการจัดกิจกรรมไมซ์ (Event Calendar) ในเว็บไซต์ www.businesseventsthailand.com เป็นต้น
    • 4.4.4 การบริหารระบบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงานผ่าน BizConnect Application
    • 4.4.5 การสนับสนุนในรูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม เช่น การอำนวยความสะดวกต่างๆ การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายของ สสปน. ในพื้นที่ การเรียนเชิญผู้บริหารมากล่าวต้อนรับ ฯลฯ 
5. ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุน
  • 5.1 ผู้ขอรับสนับสนุนกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม Request for Support Form (RFS) ในเว็บไซต์ของ สสปน. (www.businesseventsthailand.com) อย่างน้อย 30 วัน ก่อนการจัดงาน พร้อมนำส่งเอกสารประกอบ ดังนี้
    • 5.1.1 หนังสือขอรับการสนับสนุน โดยระบุวงเงินที่ขอรับสนับสนุน พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ที่ สสปน.จะได้รับ
    • 5.1.2 รายละเอียดโครงการ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล/วัตถุประสงค์/สถานที่จัดงาน/ตัวชี้วัดและเป้าหมายโครงการ (KPIs)/ประมาณการณ์จำนวนผู้เข้าร่วมงาน/งบประมาณการจัดงาน/ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดงาน และกำหนดการจัดงาน
    • 5.1.3 รายละเอียดการจัดการประชุมอย่างยั่งยืน (Check List)
    • 5.1.4 หนังสือรับรองบริษัท หรือหนังสือจัดตั้งหน่วยงาน และ/หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 20) (ถ้ามี) ของผู้ขอรับสนับสนุน
    • 5.1.5 กรณีงานที่มีการขยายเครือข่ายในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมการหมุนเวียนการจัดงานในพื้นที่ต่างๆ จะต้องมีเอกสารที่ประกอบไปด้วย รายงานการประชุมครั้งที่แล้ว แผนการขยายเครือข่ายหรือหมุนเวียนการจัดงาน พร้อมรายชื่อเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถิติจำนวนผู้เข้าร่วมงาน พร้อมอัตราการเติบโตของผู้เข้าร่วมประชุม
  • 5.2 สสปน. จะแจ้งผลการตอบรับสนับสนุนเป็นหนังสือตามแบบที่ สสปน. กำหนด และส่งให้ผู้ขอรับสนับสนุนทราบ โดยระบุจำนวนเงินสนับสนุนประมาณการตามหลักเกณฑ์ ทั้งนี้ การสนับสนุนอาจเป็นได้ทั้งการสนับสนุนการให้เงินสนับสนุน (Financial Support) หรือการให้สนับสนุนในรูปแบบอื่น ที่สามารถประมาณการวงเงินหรือมูลค่าได้
6. ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน
  • 6.1 ผู้ขอรับสนับสนุนต้องเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ภายใน 60 วัน (หกสิบวัน) นับจากวันจัดกิจกรรมภายใต้หลักเกณฑ์สนับสนุนฯ แล้วเสร็จ โดยกรอกแบบฟอร์มข้อมูลหลังงานในแบบฟอร์ม RFS ประกอบเอกสารขอเบิกจ่าย ดังนี้
    • 6.1.1 ใบแจ้งหนี้ (Invoice) หรือ หนังสือขอเบิกเงินสนับสนุน
    • 6.1.2 สำเนาหนังสือตอบรับให้การสนับสนุนของสำนักงาน พร้อมลงนาม
    • 6.1.3 รายงานสรุปผลการจัดงาน ที่ประกอบด้วย ผลการจัดงานในภาพรวม ภาพถ่ายการจัดงาน และกิจกรรมที่ปรากฏโลโก้ของ สสปน. รายงานผลงานโครงการ และรายงานสรุปตามสิทธิประโยชน์ ที่ สสปน. ได้รับ
    • 6.1.4 ใบรายชื่อผู้เข้าร่วมงาน หรือรายชื่อผู้เข้าร่วมงานที่จัดทำโดยระบบลงทะเบียนออนไลน์
  • 6.2 สสปน. จะดำเนินการเบิกจ่ายภายใน 30 วัน (สามสิบวัน) นับจากวันที่ สสปน. ได้รับเอกสารขอเบิกเงินสนับสนุนถูกต้อง ครบถ้วน สำหรับการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน สสปน. จะเบิกจ่ายให้กับผู้ขอรับการสนับสนุนเท่านั้น โดยหน่วยงานผู้ขอรับการสนับสนุนจะเป็นผู้รับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย(Withholding Tax) (ถ้ามี) และเมื่อผู้ขอรับสนับสนุนได้รับเงินสนับสนุนแล้ว จะต้องออกใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือแจ้งรับทราบการได้รับการสนับสนุนให้แก่ สสปน.
7. ข้อตกลงและเงื่อนไข
  • 7.1 ผู้ขอรับสนับสนุนต้องเข้าใจและยอมรับข้อตกลง และเงื่อนไขการขอรับสนับสนุนของ สสปน.
    ตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนตามฉบับนี้
  • 7.2 การขอรับสนับสนุนต้องดำเนินการโดย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนหรือได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน โดยแนบเอกสารจดทะเบียนรับรองหน่วยงาน และ/หรือ หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนหน่วยงาน
  • 7.3 สสปน. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาอนุมัติสนับสนุนการจัดงานตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนฉบับนี้  ซึ่งพิจารณาประกอบกับงบประมาณการสนับสนุนของ สสปน. ที่จัดสรรไว้แล้ว โดยผู้รับสนับสนุนไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น         
  • 7.4 ผู้ขอรับสนับสนุนต้องจัดให้ สสปน. มีส่วนเข้าร่วมในกิจกรรม อาทิ การเข้าร่วมงานประชุม กิจกรรมการตลาด เป็นต้น
  • 7.5 ผู้ขอรับสนับสนุนยินยอมและจะอำนวยความสะดวกแก่ สสปน.หรือผู้แทน เพื่อเข้าสังเกตการณ์ตรวจสอบและประเมินผลการจัดงานได้ตามความเหมาะสม ทั้งก่อนหน้าการจัดงาน และระหว่างการจัดงาน
  • 7.6 สสปน. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามผลการจัดงานเพื่อประเมิน หรือเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ
  • 7.7 ผู้ขอรับสนับสนุนรับรองและรับประกันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • 7.8 ผู้ขอรับสนับสนุนต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ สสปน. เพื่อใช้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวสำหรับการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขของผู้ขอรับการสนับสนุนตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนตามฉบับนี้ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ สสปน.
  • 7.9 ผู้ขอรับสนับสนุนยินยอมที่จะนำส่งข้อมูลการจัดกิจกรรม รายงานการดำเนินกิจกรรมและฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมแก่ สสปน.
  • 7.10 สสปน. มีสิทธิปรับเปลี่ยนการให้เงินสนับสนุน หรือให้สนับสนุนในรูปแบบอื่น ๆ แก่ผู้ขอรับสนับสนุน โดยประมาณการวงเงินหรือมูลค่าได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ สสปน. ตามความเหมาะสม
  • 7.11 สสปน. ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดหลักเกณฑ์การสนับสนุนตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • 7.12 ในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยน แก้ไข ยกเลิก แผนการดำเนินกิจกรรม หรือการขอปรับเปลี่ยนการขอรับการสนับสนุนที่ได้รับอนุมัติแล้วตามหลักเกณฑ์ ผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ สสปน. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันเริ่มจัดงาน
  • 7.13 การเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ต้องดำเนินการภายใน 60 วัน หลังจากงานเสร็จสิ้น หากเกินระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์การขอรับเงินสนับสนุน
  • 7.14 สสปน. สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการสนับสนุนตามความเหมาะสม ตามวัตถุประสงค์โครงการสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการภายในประเทศ (Domestic Conventions) โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • 7.15 ในกรณีผู้ขอรับสนับสนุนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนนี้  สสปน. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุนดังกล่าว โดยการพิจารณาของ สสปน. ถือเป็นที่สิ้นสุด
  • 7.16 การขอรับสนับสนุนงานที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนนี้ ผู้อำนวยการ สสปน. สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบสนับสนุนเป็นรายกรณีไป และถือเป็นที่สิ้นสุด
  • 7.17 กรณีผู้ขอรับสนับสนุนให้ข้อมูล หรือนำส่งเอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อใช้ในการขอการสนับสนุนหรือขอเบิกจ่าย จะถูกตัดสิทธิในการให้การสนับสนุน และถูกดำเนินการทางกฎหมาย

เอกสารแนบท้าย
แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับการจัดงานอย่างยั่งยืน
หัวข้อที่ต้องดำเนินการ
การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ก่อนงาน 1 ประชาสัมพันธ์การจัดงานผ่านระบบออนไลน์ และเปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าแบบออนไลน์
2 ประชาสัมพันธ์ข้อปฏิบัติการจัดงานอย่างยั่งยืนของงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เตรียมตัวและมีส่วนร่วมและบริหารจัดการความคาดหวังในการเข้าร่วมงาน
สถานที่จัดงาน 3

เลือกใช้สถานที่จัดงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความยั่งยืน และ/หรือเป็นมิตรด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเลือกใช้สถานที่จัดงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความยั่งยืน และ/หรือเป็นมิตรด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ

  • มาตรฐานการบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืนประเทศไทย (TSEMS)
  • มาตรฐาน ISO20121, ISO14001, ISO50001
  • มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (TMVS), มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน (AMVS)
  • โรงแรมสีเขียว
  • หรือสถานที่จัดงานที่มีนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นลายลักษณ์อักษร
4 เลือกสถานที่จัดงานที่ตั้งอยู่ในระยะทางที่เดินเท้าไปได้ถึงหรือใกล้ระบบขนส่งสาธารณะที่หลากหลายทางเลือก
5 เลือกสถานที่จัดงานที่สามารถรองรับและเข้าถึงได้ โดยผู้ที่มีความต้องการหลากหลายเข้าถึงคน ทุกเพศ ทุกวัย ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
การตกแต่ง สถานที่และจัดเตรียมอุปกรณ์ 6 ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องจัดงานให้ไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
7 ลดการใช้อุปกรณ์ตกแต่งให้มีจำนวนเท่าที่จำเป็น
8 งดใช้วัสดุจากโฟมและงดใช้ไม้ตัดดอก (cut flowers) แนะนำให้เลือกใช้ต้นไม้/ ดอกไม้กระถาง (potted plants) มาประดับตกแต่ง
9 เลือกใช้วัสดุแต่งที่สามารถนำกลับไปใช้ได้อีก
อาหาร และเครื่องดื่ม 10 ไม่ใช้ขวดน้ำพลาสติก โดย จัดให้มีบริการน้ำดื่มใส่ตู้กด และ/หรือ เหยือกหรือขวดแก้วใหญ่ หรือแจกขวดน้ำให้ผู้เข้าร่วมงานเพื่อนำมาเติมน้ำได้
11 งดใช้น้ำตาล ครีม ซอส นม แบบซองหรือในบรรจุภัณฑ์ย่อย โดยให้บริการน้ำตาล นม หรือ ครีมแบบเติมจากภาชนะ
12 งดใช้หลอด หากจำเป็นให้ใช้หลอดดูดน้ำที่ทำจากวัสดุทดแทนหรือวัสดุธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายได้
13 จัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ลงทะเบียนในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ
14 เลือกอาหารและเครื่องดื่มประเภทออร์แกนิคในท้องถิ่นและไม่ใช้อาหารแช่แข็ง รายการอาหารควรจะสะท้อนผลผลิตตามฤดูกาลของท้องถิ่นนั้น
15 บริจาคอาหารเหลือที่ยังรับประทานได้ กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หรือผู้ที่ต้องการรับบริจาค
การกำจัดขยะ 16 จัดให้มีการบริหารจัดการขยะ ระบบการคัดแยก และ การรีไซเคิลขยะของงาน
ระบบลงทะเบียน 17 ใช้ระบบลงทะเบียนแบบออนไลน์หรืออิเล็กโทรนิกส์ ผู้เข้าร่วมงานสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด หรือกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนโดยไม่ต้องใช้กระดาษในวันจัดงาน
18 หลีกเลี่ยงการพิมพ์เอกสาร หากจำเป็นควรใช้กระดาษ หมึก และกระบวนการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
19 หลีกเลี่ยงการใช้บัตรประจำตัวผู้เข้าร่วมงาน (Participant Badge) หากจำเป็นให้เลือกใช้บัตรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ และจัดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมงานคืนบัตรและเอกสารอื่นๆ เพื่อนำกลับมาใช้ได้อีก
การจัดเตรียมอื่น ๆ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ 20 เลือกใช้ของที่ระลึกที่ผลิตโดยชุมชน หรือผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
21 ส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกในท้องถิ่นให้ผู้เข้าประชุม ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นและเป็นการให้ความรู้กับผู้เข้าประชุม
22 สนับสนุนให้ผู้ร่วมงานเดินทางร่วมกันโดยรถบัส/รถตู้ หรือระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อลดการใช้พลังงานและลดก๊าซเรือนกระจก
23 เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดงาน เช่น การจ้างงานชุมชน จัดให้มีพื้นที่ประชาสัมพันธ์สินค้าชุมชน/NGOs เปิดโอกาสอาสาสมัครภาคการศึกษา เป็นต้น
การสื่อสารและประชาสัมพันธ์หลังงาน 24 จัดทำสรุปผลการปฏิบัติงาน ตามข้อปฏิบัติของแนวทางการจัดงานอย่างยั่งยืนที่ได้ปฏิบัติในงานนั้นๆ
25 ประชาสัมพันธ์ ข้อปฏิบัติ ความสำเร็จ และประโยชน์จากการจัดงานอย่างยั่งยืนให้ผู้ร่วมงาน บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
 
 
For more information please kindly email to dmice@tceb.or.th